วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554

AR Code


Augmented Reality Code (AR-Code)
Augmented Reality หรือ AR-Code เป็นเทคโนโลยีที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริง และความ เสมือนจริง ผสานกันเข้าด้วยกัน ผ่านอุปกรณ์กล้อง Webcam, Computer และPattern โดยภาพที่ ปรากฎให้เห็นในจอภาพ หรือ Monitor จะเป็นภาพที่มีลักษณะ 3 มิติ มุมมอง 360 องศา สามารถ มองได้รอบด้านขณะนี้โลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคของสภาพเสมือนจริง (Virtual Reality) ซึ่งเปรียบได้ว่าเป็นเขต แดนบุกเบิกของคริสต์ศตวรรษที่ 21 เราจะพบว่า ประกอบด้วยถนนอิเล็กทรอนิกส์ที่ประกอบด้วย เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) ซึ่งมีทั้งนิวส์กรุ๊ป (Newsgroup) เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) และบริการสารสนเทศต่างๆ รวมถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของเอกชนอีกมากมาย คำว่า ทางด่วน สารสนเทศ นั้นมักใช้อ้างถึงระบบเชื่อมโยงทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในปัจจุบัน บางครั้งก็มีการใช้คำว่า โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศของประเทศ (National Information Infrastructure) บางครั้งสื่อมวลชนก็ใช้คำว่า ไซเบอร์สเปซ (Cyberspace) ในเขตแดนใหม่ที่กล่าวถึง นี้ มีกิจกรรมอีกหลายอย่างที่กำลังเปลี่ยนแปลงสังคมที่เราเคยรู้จักอยู่ทั้งในด้านบันเทิง การศึกษา ธุรกิจ ฯลฯ และมีปัญหาเกิดขึ้นตามมาอีกหลายอย่างที่จะต้องมีการแก้ไขกันต่อไป เช่น ในเรื่องการ ละเมิดกฎหมาย หรืออาชญากรรมที่กระทำผ่านไซเบอร์สเปซ (Cyberspace) ในอนาคต กิจกรรมใน ชีวิตประจำวันแทบทุกอย่างของมนุษย์ทีอาศัยอยู่ในสังคมสมัยใหม่จะเกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ (IT) และการประยุกต์ใช้วิชาการหุ่นยนต์ (Robotics) ที่ว่าด้วยการใช้หุ่นยนต์ที่ควบคุม ด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำงานโต้ตอบกันเป็นภาษาพูดของมนุษย์(Human Language Interaction) การที่ ต้องเรียนรู้ภาษาคอมพิวเตอร์ หรือวิธีการใช้คอมพิวเตอร์ที่ยุ่งยากซับซ้อนนั้นจะหมดไป
AR แบ่งออกเป็น 4 ชนิด
1. Optical See-Through AR
ผู้ใช้เห็นชัดเจนด้วย Head-mounted display (ผู้ใช้จะต้องสวมหมวกที่มีจอภาพไว้บนศีรษะ) เพื่อแสดงสิ่งแวดล้อมเสมือนได้ (VE) โดยตรงมากกว่าโลกจริง
2. Projector Based AR
ใช้วัตถุโลกจริงเช่นเดียวกับการออกแบบพื้นผิวสาหรับ VE
3. Video See-Through
AR ใช้ HMD ทึบแสงในการแสดงผสมผสานกับวิดีโอของ VE และมองจากล้องถ่ายรูปบน HMD
4. Monitor-Based AR
ใช้ผสมผสานกับวิดีโอสตรีมแต่การแสดงน่าติดตามมากกว่าปกติหรือจับสิ่งแสดงได้ Monitor-Based AR คือความเป็นไปได้ยากเล็กน้อยที่จะติดตั้งเพราะมันจากัดเนื้อหา HMD
หลักการของ AR ประกอบด้วย
1. กล้อง webcam , มือถือ หรือตัวจับ sensor อื่นๆ
2. AR CODE , ตัว Marker (บางคนเรียกว่า Markup) ต่างๆ
3. ส่วนแสดงผล อาจเป็นจอภาพทางคอมพิวเตอร์ หรือมือถือ หรืออื่นๆ
4. ส่วนประมวลผลเพื่อสร้าง object 3D เช่น software
ข้อดีจากการนาระบบ AR มาใช้
1. เป็นการสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้แก่ผู้บริโภค ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่ชอบและสนใจเทคโนโลยี
2. ผู้ใช้บริการสามารถค้นหาตาแหน่งและรายละเอียดของสินค้าที่ตนต้องการได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน
3. บริษัทสามารถสร้าง Campaign ต่างๆ เพื่อสร้างความสนใจในตัวสินค้า จึงสามารถดึงดูดลูกค้าและเพิ่มยอดขายได้เพิ่มมากขึ้น
4. เพิ่มโอกาสของการค้าทาง Internet (E-commerce) เนื่องจากการผู้ซื้อสามารถเห็นภาพจาลองของตนและสินค้าก่อนทาการสั่งซื้อสินค้า จึงเป็นการเปิดตลาดให้มีผู้ใช้บริการช่องทางนี้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งทั้งนี้ยังส่งผลต่อไปยังผู้ที่ต้องการลงทุนทาธุรกิจ โดยช่วยลดค่าใช้จ่ายในการลงทุน เนื่องจากไม่จาเป็นต้องมีหน้าร้านเพื่อให้บริการ จึงไม่ต้องเสียค่าเช่าสถานที่ ค่าน้า ค่าไฟฟ้า ฯลฯ
ข้อเสียจากการนาระบบ AR มาใช้
1. ไม่เหมาะกับกลุ่มคนที่ low technology หรือกลุ่มคนที่อาจไม่ได้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีมากนัก เนื่องจากว่าการนาเสนอด้วยรูปแบบนี้ ผู้ใช้จาเป็นต้องมีกล้อง Web Cam และเครื่องพิมพ์ในกรณีที่เป็นการ print ตัว Marker ผ่านหน้าเว็บไซต์
2. เข้าถึงผู้บริโภคในกลุ่มที่จากัด โดยผู้ใช้บริการต้องมีเศรษฐสถานะที่ค่อนข้างดี เนื่องจากการใช้เทคโนโลยี AR ต้องอาศัยอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์หลายอย่าง 3. การที่มีกลุ่มผู้บริโภคจากัด ทาให้อาจไม่คุ้มกับการลงทุนของบริษัทในการวางระบบเครือข่ายต่างรวมทั้งการทาฐานข้อมูลต่างๆ เช่น การทาฐานข้อมูลของร้านค้า หรือสถานที่ 4. ยังขาดการสนับสนุนจากภาครัฐบาล เนื่องจากในการใช้งานอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือต้องใช้ระบบ 3G ซึ่งระบบดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการส่วนใหญ่ของประเทศ ทาให้การใช้งานเทคโนโลยี AR ยังอยู่ในวงที่จากัด